พระยาเสนาะ ดุริยางค์
พระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูซ้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝันวิชาดนตรี จากครูซ้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่ินเป็น "หลวงเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2453 ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่ินเป็น "พระเสนาะดุริยางค์" รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2468 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ป้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่ว
ครูเทียบ คงลายทอง
เกิดที่หลังวัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี เริ่มหัดดนตรีตั้งแต่อายุ 12-13 ปี ตอนแรกเริ่มหัดฆ้องใหญ่กับคุณปู่ ต่อมาเปลี่ยนมาเล่นเครื่องเป่า โดยหัดปี่ชวากับบิดา หลักจากนั้นได้เป็นศิษย์ของพระยาเสนาะดุริยางค์ ครูรับราชการในกรมมหรสพ ซึ่งต่อมาเป็น กรมปี่พาทย์หลวง ตั้งแต่อายุ 22 ปี จนเกษียรอายุ
ครูมนโท ตราโมท
เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มหัดฆ้องใหญ่เมื่ออายุ 15 ปี กับครูสมบุญ สมสุวรรณ ต่อมาจึงเรียนดนตรีที่กรุงเทพ กับพระยาประสาน ดุริยศัพท์ เรียนฆ้องใหญ่กับหลวงบำรุงจิตเจริญ เรียนระนาดทุ้มกับพระพาทย์ บรรเลงรมย์ ต่อมาเรียนกับหลวงประดิษฐไพเราะ เมื่ออายุประมาณ 18 ปี ครูแต่งเพลง "ต้อยตลิ่ง' และได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น