ประเภทของวงดนตรีไทย
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. วงเครื่องสาย
2. วงปี่พาทย์
3. วงมโหรี
1. วงเครื่องสาย วงเครื่องสายเป็นชื่อวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ในวงจะประกอบด้วยเครื่องที่ใช้สายเป็นต้นกำเนิดของเสียงดนตรี แม้ว่าเครื่องที่นำมาบรรเลงนั้นจะมีวิธีการบรรเลงที่ต่างกันออกไป ทั้ง ดีด สี หรือตีก็ตามจึงเรียกวงดนตรีนี้ว่า "วงเครื่องสาย" วงเครื่องสายอาจมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า หรือเครื่องกำกับจังหวะ บรรเลงอยู่ด้วยก็ยังถือว่าอยู่ในวงเครื่องสายเช่นกันเพราะมีเป็นจำนวนน้อย และที่นำมาร่วมบรรเลงในวงด้วยเพียงเพื่อช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงให้น่าฟังยิ่งขึ้น
วงเครื่องสายเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องสี เครื่องดีด ผสมในวง ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ
1.1 วงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว
เป็นวงเครื่องสายที่มีเครื่องดนตรีผสมเพียงอย่างละ 1 ชิ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วงเครื่องสายไทยวงเล็ก เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวซึ่งถือเป็นหลัก คือ
- ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงสูงและกระแสเสียงดัง มีหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินทำนอง
- ซออู้ เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงทุ้ม มีหน้าที่ดำเนินทำนองหยอกล้อ กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนาน
- จะเข้ เป็นเครื่องดีดดำเนินทำนองเพลงเช่นเดียวกับซอด้วง แต่มีวิธีการบรรเลงแตกต่างออกไป
- ขลุ่ยเพียงออ ซึ่งเป็นขลุ่ยขนาดกลาง เป็นเครื่องเป่าดำเนินทำนองโดยสอดแทรกด้วยเสียงโหยหวนบ้าง ตามโอกาส
- โทนและรำมะนา เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว และทั้ง 2 อย่าง จะต้องตีให้สอดสลับรับกันผสมกลมกลืนเป็นทำนองเดียวกัน มีหน้าที่ควบคุมจังหวะ
- ฉิ่ง เป็นเครื่องตร มีหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อยให้การบรรเลงดำเนินจังหวะไปโดยสม่ำเสมอ หรือช้าเร็วตามความเหมาะสม
เครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวอาจเพิ่มเครื่องที่จะทำให้เกิดความไพเราะเหมาะสมได้อีก เช่น กรับและฉาบเล็กสำหรับตีหยอกล้อ ในจำพวกกำกับจังหวะ โหม่งสำหรับช่วยควบคุมจังหวะใหญ่
1.2 วงเครื่องสายไทยเครื่องคู่
คำว่า เครื่องคู่ ย่อมมีความหมายชัดเจนแล้วว่าอย่างละ 2 ชิ้น เพราะฉะนั้นวงเครื่องสายไทยเครื่องคู่จึงเพิ่มเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดียวขึ้นเป็น 2 ชิ้น แต่เพียงบางชนิด คือ
- ซอด้วง 2 คัน แต่ทำหน้าที่ปู้นำวงเพียงคันเดียว อีกคำหนึ่งเป็นเพียงผู้ช่วย
- ซออู้ 2 คัน ถ้าสีเหมือนกันได้ก็ให้ดำเนินทำนองอย่างเดียวกัน แต่ถ้าสีเหมือนกันไม่ได้ก็ให้คันหนึ่งหยอกล้ออย่างถี่ หรือจะปลัดกันเป็นบางวรรคบางตอนก็ได้
- จะเข้ 2 ตัว ดำเนินทำนองแบบเดียวกัน
- ขลุ่ย 2 เลา เลาหนึ่งเป็นขลุ่ยเพียงออ อีกเลาหนึ่งเป็นขลุ่ยหลีบซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ และมีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียง
1.3 วงเครื่องสายผสม
เป็นวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องสายไทย การเรียกชื่อวงเครื่องสายผสมนั้นนิยมเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีต่างชาติที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงในวง เช่น นำเอาออร์แกนหรือไวโอลินมาร่วมบรรเลงด้วยก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน หรือ วงเครื่องสายผสมไวโอลิน
1.4 วงเครื่องสายปี่ชวา
วงเครื่องสายไทยทั้งวงบรรเลงประสมกับวงกลองแขก โดยไม่ใช้โทนและรำมะนา และใช้ขลุ่ยหลีบแทนขลุ่ยเพียงออเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวาได้ดี เดิมเรียกว่า วงกลองแขกเครื่องใหญ่ วงเครื่องสายปี่ชวาน เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. วงปี่พาทย์ ประกอบด้วยเครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องกำกับจังหวะแบ่งเป็นปี่พาทย์ไม้แข็ง ปี่พาทย์ไม้นวม แบ่งตามลักษณะไม้ที่ใช้ตี
- ปี่พาทย์ไม้แข็ง ไม้ตีก็จะแข็งมาก ตีดังแน่นและไกล
- ปี่พาทย์ไม้นวม ไม้ตีจะหุ้มผ้า ให้อ่อนนุ่ม ตีดังเสียงนุ่มๆ ทุ้มๆ ดังไม่ไกลนัก มักเป็นของผู้ชายเล่น
2.1 วงปี่พาทย์เครื่องห้า
เป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นวงหลัก มีจำนวนเครื่องดนตรีน้อยชิ้นที่สุด ดังนี้
- ปี่ใน 1 เลา
- ระนาดเอก 1 ราง
- ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
- กลองทัด 2ลูก
- ตะโพน 1 ลูก
- ฉิ่ง 1 คู่
ในบางกรณีอาจใช้ฉาบ กรับ โหม่ง
2.2 วงปี่พาทย์เครื่องคู่
เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดงหนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้
- ปี่ 1 คู่ ปี่ในและปี่นอก
- ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
- ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
- กลองทัด 1 คู่
- ตะโพน 1 ลูก
- ฉิ่ง 1 คู่
- ฉาบเล็ก 1 คู่
- ฉาบใหญ่ 1 คู่
- โหม่ง 1 ใบ
- กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน)
2.3 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
วงปี่พาทยืเครื่องคู่ที่ เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาดทุ้มเหล็ก โดยระนาดเอกเหล็กที่ริมด้านขวามือและตั้งระนาดทุ้มเหล็กที่ริมด้านซ้ายมือ วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้น ๆ ด้วย
2.4 วงปี่พาทย์นางหงส์
วงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้หลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกัยวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยุ่เดิม เรียกว่า วงปี่พาทยืนางหงส์ วงปี่พาทยืนางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลงนากจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่า ออกภาษา ด้วย
2.5 วงปี่พาทย์มอญ
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอย เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปงมางคอก ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาด ได้แก่
2.5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
2.5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก
2.5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก
วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ ได้ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลา โศกเศร้า ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น