วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติครูดนตรีไทย

พระยาเสนาะ ดุริยางค์


    พระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูซ้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝันวิชาดนตรี จากครูซ้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่ินเป็น "หลวงเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2453 ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่ินเป็น "พระเสนาะดุริยางค์" รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาเสนาะดุริยางค์" ในปี พ.ศ. 2468 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ป้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่ว

ครูเทียบ คงลายทอง


    เกิดที่หลังวัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี เริ่มหัดดนตรีตั้งแต่อายุ 12-13 ปี ตอนแรกเริ่มหัดฆ้องใหญ่กับคุณปู่ ต่อมาเปลี่ยนมาเล่นเครื่องเป่า โดยหัดปี่ชวากับบิดา หลักจากนั้นได้เป็นศิษย์ของพระยาเสนาะดุริยางค์ ครูรับราชการในกรมมหรสพ ซึ่งต่อมาเป็น กรมปี่พาทย์หลวง ตั้งแต่อายุ 22 ปี จนเกษียรอายุ

ครูมนโท ตราโมท


    เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มหัดฆ้องใหญ่เมื่ออายุ 15 ปี กับครูสมบุญ สมสุวรรณ ต่อมาจึงเรียนดนตรีที่กรุงเทพ กับพระยาประสาน ดุริยศัพท์ เรียนฆ้องใหญ่กับหลวงบำรุงจิตเจริญ เรียนระนาดทุ้มกับพระพาทย์ บรรเลงรมย์ ต่อมาเรียนกับหลวงประดิษฐไพเราะ เมื่ออายุประมาณ 18 ปี ครูแต่งเพลง "ต้อยตลิ่ง' และได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

ประเภทของวงดนตรีไทย

ประเภทของวงดนตรีไทย
    แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. วงเครื่องสาย
2. วงปี่พาทย์
3. วงมโหรี
    1. วงเครื่องสาย  วงเครื่องสายเป็นชื่อวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ในวงจะประกอบด้วยเครื่องที่ใช้สายเป็นต้นกำเนิดของเสียงดนตรี แม้ว่าเครื่องที่นำมาบรรเลงนั้นจะมีวิธีการบรรเลงที่ต่างกันออกไป ทั้ง ดีด สี หรือตีก็ตามจึงเรียกวงดนตรีนี้ว่า "วงเครื่องสาย" วงเครื่องสายอาจมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า หรือเครื่องกำกับจังหวะ บรรเลงอยู่ด้วยก็ยังถือว่าอยู่ในวงเครื่องสายเช่นกันเพราะมีเป็นจำนวนน้อย และที่นำมาร่วมบรรเลงในวงด้วยเพียงเพื่อช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงให้น่าฟังยิ่งขึ้น
   
    วงเครื่องสายเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องสี เครื่องดีด ผสมในวง ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ

    1.1 วงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว
เป็นวงเครื่องสายที่มีเครื่องดนตรีผสมเพียงอย่างละ 1 ชิ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วงเครื่องสายไทยวงเล็ก เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวซึ่งถือเป็นหลัก คือ
  • ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงสูงและกระแสเสียงดัง มีหน้าที่ดำเนินทำนองเพลง เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินทำนอง
  • ซออู้ เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงทุ้ม มีหน้าที่ดำเนินทำนองหยอกล้อ กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนาน
  • จะเข้ เป็นเครื่องดีดดำเนินทำนองเพลงเช่นเดียวกับซอด้วง แต่มีวิธีการบรรเลงแตกต่างออกไป
  • ขลุ่ยเพียงออ ซึ่งเป็นขลุ่ยขนาดกลาง เป็นเครื่องเป่าดำเนินทำนองโดยสอดแทรกด้วยเสียงโหยหวนบ้าง ตามโอกาส
  • โทนและรำมะนา เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว และทั้ง 2 อย่าง จะต้องตีให้สอดสลับรับกันผสมกลมกลืนเป็นทำนองเดียวกัน มีหน้าที่ควบคุมจังหวะ
  • ฉิ่ง เป็นเครื่องตร มีหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อยให้การบรรเลงดำเนินจังหวะไปโดยสม่ำเสมอ หรือช้าเร็วตามความเหมาะสม
    เครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวอาจเพิ่มเครื่องที่จะทำให้เกิดความไพเราะเหมาะสมได้อีก เช่น กรับและฉาบเล็กสำหรับตีหยอกล้อ ในจำพวกกำกับจังหวะ โหม่งสำหรับช่วยควบคุมจังหวะใหญ่
   
    1.2 วงเครื่องสายไทยเครื่องคู่

คำว่า เครื่องคู่ ย่อมมีความหมายชัดเจนแล้วว่าอย่างละ 2 ชิ้น เพราะฉะนั้นวงเครื่องสายไทยเครื่องคู่จึงเพิ่มเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดียวขึ้นเป็น 2 ชิ้น แต่เพียงบางชนิด คือ
  • ซอด้วง 2 คัน แต่ทำหน้าที่ปู้นำวงเพียงคันเดียว อีกคำหนึ่งเป็นเพียงผู้ช่วย
  • ซออู้ 2 คัน ถ้าสีเหมือนกันได้ก็ให้ดำเนินทำนองอย่างเดียวกัน แต่ถ้าสีเหมือนกันไม่ได้ก็ให้คันหนึ่งหยอกล้ออย่างถี่ หรือจะปลัดกันเป็นบางวรรคบางตอนก็ได้
  • จะเข้ 2 ตัว ดำเนินทำนองแบบเดียวกัน
  • ขลุ่ย 2 เลา เลาหนึ่งเป็นขลุ่ยเพียงออ อีกเลาหนึ่งเป็นขลุ่ยหลีบซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ และมีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 3 เสียง
    1.3 วงเครื่องสายผสม
เป็นวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องสายไทย การเรียกชื่อวงเครื่องสายผสมนั้นนิยมเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีต่างชาติที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงในวง เช่น นำเอาออร์แกนหรือไวโอลินมาร่วมบรรเลงด้วยก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน หรือ วงเครื่องสายผสมไวโอลิน
    1.4 วงเครื่องสายปี่ชวา
วงเครื่องสายไทยทั้งวงบรรเลงประสมกับวงกลองแขก โดยไม่ใช้โทนและรำมะนา และใช้ขลุ่ยหลีบแทนขลุ่ยเพียงออเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวาได้ดี เดิมเรียกว่า วงกลองแขกเครื่องใหญ่ วงเครื่องสายปี่ชวาน เกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    2. วงปี่พาทย์ ประกอบด้วยเครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องกำกับจังหวะแบ่งเป็นปี่พาทย์ไม้แข็ง ปี่พาทย์ไม้นวม แบ่งตามลักษณะไม้ที่ใช้ตี
  • ปี่พาทย์ไม้แข็ง ไม้ตีก็จะแข็งมาก ตีดังแน่นและไกล
  • ปี่พาทย์ไม้นวม ไม้ตีจะหุ้มผ้า ให้อ่อนนุ่ม ตีดังเสียงนุ่มๆ ทุ้มๆ ดังไม่ไกลนัก มักเป็นของผู้ชายเล่น
วงปี่พาทย์มี 5 แบบ คือ
   
    2.1 วงปี่พาทย์เครื่องห้า
เป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นวงหลัก มีจำนวนเครื่องดนตรีน้อยชิ้นที่สุด ดังนี้
  • ปี่ใน 1 เลา
  • ระนาดเอก 1 ราง
  • ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
  • กลองทัด 2ลูก
  • ตะโพน 1 ลูก
  • ฉิ่ง 1 คู่
ในบางกรณีอาจใช้ฉาบ กรับ โหม่ง
    2.2 วงปี่พาทย์เครื่องคู่
เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดงหนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้
  • ปี่ 1 คู่ ปี่ในและปี่นอก
  • ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
  • ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
  • กลองทัด 1 คู่
  • ตะโพน 1 ลูก
  • ฉิ่ง 1 คู่
  • ฉาบเล็ก 1 คู่
  • ฉาบใหญ่ 1 คู่
  • โหม่ง 1 ใบ
  • กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน)
    2.3 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
วงปี่พาทยืเครื่องคู่ที่ เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาดทุ้มเหล็ก โดยระนาดเอกเหล็กที่ริมด้านขวามือและตั้งระนาดทุ้มเหล็กที่ริมด้านซ้ายมือ วงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้น ๆ ด้วย
    2.4 วงปี่พาทย์นางหงส์
วงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้หลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกัยวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยุ่เดิม เรียกว่า วงปี่พาทยืนางหงส์ วงปี่พาทยืนางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลงนากจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่า ออกภาษา ด้วย
    2.5 วงปี่พาทย์มอญ
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอย เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปงมางคอก
ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาด ได้แก่
2.5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
2.5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก
2.5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก
    วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่างๆ ได้ทั้งงานมงคล และงานอวมงคล แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลา โศกเศร้า ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย


      เครื่องดนตรีไทย แบ่งตามลักษณะการทำให้เกิดเสียงเป็น    4 ประเภท คือ ดีด สี ตี เป่า







                                                                     

เครื่องดีด

     เป็นเครื่องสายที่มีกระโหลกเสียง และใช้นิ้วมือหรือไม้ในการดีดให้เกิดเสียง กำเนิดจากประเทศทางตะวันออกคือบรรดาประเทศในทวีปเอเชีย ตัวอย่าง เครื่องดีดเช่น

จะเข้


ประวัติโดยย่อยของ จะเข้

         จะเข้ สัณนิษฐานว่า ได้รับอิทธิพลจากมอญ เดิมทำเป็นรูปร่างเหมือน จระเข้ ไทยใช้จะเข้มาตั้งแต่สมัยอยุทธยา 
        
         จะเข้เป็นเครื่องดนรีที่วางดีดตามแนวนอน ทำด้วยไม้ท่อนขุน เป็นโพรงอยู่ภายใน นิยมใช้ไม้แก่นขนุนเพราะให้เสียงกังวาล ด้านล่างเป็นพื้นไม้ ซึ่งมักใช้ไม้ฉำฉา เจาะรูไว้ให้เสียงออกดีขึ้น มีขาอยู่ตอนหัว 4 ขา ตอนท้าย 1 ขา มี 3 สาย คือ สายเอก(เสียงสูง) สายกลาง(เสียงทุ้ม) ทั้งสองสายนี้ทำด้วยเอ็นหรือไหมฟั่นเป็นเกลียว สายที่สามเรียก สายลวด(เสียงต่ำ) ทำด้วยลวดทองเหลือง ทั้งสามสายนี้ขึงจากหลักตอนหัวผ่าน โต๊ะ (กล่องทองเหลืองกลวง) ไปพาดกับ หย่อง แล้วสอดลงไปพันกันด้านลูกบิต(ปักทำด้วยไม้หรืองา) สายละลูก โต๊ะนี้ทำหน้าที่ขยายเสียงขอกจะเข้ให้คมชัดขึ้น ระหว่างราง ด้านบนกับสายจะเข้ จะมีชิ้นเล็กๆ ทำเป็นสันหนาเรียกว่า นม 11 นม วางเรียงไปตามแนวยาว เพื่อรองรับการกด จากนิ้วมือ
ตัวอย่างการดีดจะเข้

ขอขอบคุณวีดีโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=He0NyuMe4WY

เครื่องสี

     เป็นเครื่องสายที่ทำให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสาย ตัวอย่าง เครื่องสี เช่น

ซออู้


ประวัติโดยย่อยของ ซออู้

      ซออู้ เป็นซอที่มีเสียงทุ้มกังวาน มีส่วนประกอบดังนี้
  • กระโหลก ทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดส่วนที่ใกล้กับขั้ว ให้พูทั้งสามอยู่ด้านบน ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ ขึงเป็นหน้าตรงที่ตัด
  • คันซอ ทำด้วยไม้หรืองาช้างกลึง แบ่งเป็นสองส่วน คือ ทวนบน นับตั้งแต่ลูกบิด ไปถึงปลายคัน ทวนล่างนับตั้งแต่ลูกบิดลงมาที่ตัวคันมีลวดหรือลูกแก้วคั่นเป็นระยะ ปลายทวนล่างสอดทะลุ กระโหลกลงไปเพื่อคล้องสายซอทั้งสองเส้น
  • ลูกบิด มีสองลูก เสียบอยู่ที่ทวนบน ใช้ขึงสายซอ ซึ่งทำด้วยไหมฟั่นเป็นเกลียว หรือทำด้วยเอ็นผูกคล้องปลายทวนล่างสุด ลูกบนสำหรับสายทุ้ม ลูกล่างสำหรับสายเอก
  • รัดอก เป็นบ่วงเชือกใช้ลูกล่างสำหรับสายเอกรั้งสายซอ เพื่อให้ได้คู่เสียงสายเปล่าชัดเจน
  • หมอน เป็นวัสดุที่วางหมุนระหว่างหน้าซอกับสายซอเพื่อให้ได้เสียงกังวาล บางทีเราเรียกว่า หย่อง
  • คันชัก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง กลึงให้ได้รูป ขึงเส้นหางม้า ประมาณ 250 เส้น หางม้านี้จะสอดเข้าระหว่าง สายเอกกับสายทุ้ม
  • การเทียบเสียง สายเอกมีระดับเสียงตรงกับสายทุ้มของซอด้วง สายทุ้มมีเสียงต่ำกว่าสายเอก 5 เสียง
ตัวอย่างการสีซออู้

ขอขอบคุณวีดีโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=G3mP7e1WOMY

เครื่องตี

     เครื่องตี การทำให้เกิดเสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มีความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ ตัวอย่าง เครื่องตี เช่น

ประวัติโดยย่อยของ ระนาดเอก



     ระนาดเอก ที่ทำให้เสียงนุ่มนวล นิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการ ให้ได้เสียงเกรียวกราว นิยมใช้ไม้แก่น ลูกระนาดมี 21 ลูก ลูกที่ 21 หรือลูกยอด จะมีขนาดสั้นที่สุด ลูกระนาด จะร้อยไว้ด้วยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนไว้บนราง ซึ่งทำด้วย ไม้เนื้อแข็งรูปร่างคล้ายเรือ ด้านหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียง มีแผ่นไม้ปิดฟัวและท้ายรางเรียกว่า โขน ฐานรูปสี่เหลี่ยมเรียกว่า ปี่พาทย์ไม้แข็ง ไม้ตีชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุที่นุ่มกว่า ใช้ผ้า พัน แล้วถักด้ายสลับ เวลาตีจะให้เสียงนุ่มนวล

ตัวอย่างการตีระนาดเอก


ขอขอบคุณวีดีโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=m58ebTqHFxY

เครื่องเป่า

     เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงจากการเป่าลม ต่อมาได้มีวิวัฒนาการเจาะรูและทำลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก ตัวอย่าง เครื่องเป่า เช่น

ประวัติโดยย่อยของ ขลุ่ย


     ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และงาช้าง แต่ที่ทำจากไม้รวกจะให้เสียงนุ่มนวล ไพเราะกว่า

ตัวอย่างการเป่าขลุ่ย


ขอขอบคุณวีดีโอจาก http://www.youtube.com/watch?v=2oZz1q72ctI